วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันที่ 30 กันยายน 2553

อาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมกระดาษลังมาคนละ 1 ชิ้น มาทำปายนิเทสโดยใช้สื่อการเรียน หน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย และอาจารย์ได้เตรียมวัสดุอุปกรณ์มาให้กับนักศึกษาด้วย

การทำชิ้นงานแต่ละครั้งนักศึกษาต้องมีการวางแผนขั้นตอนการทำก่อนเพื่อที่จะไม่สิ้นเปลืองวัสดุอุปกรณ์และอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้นั้นจะต้องเตรียมพร้อมเพื่อจะให้การทำป้ายนิเทศของหน่วยต่างๆออกมาได้ดี

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12

วันที่ 23 กันยายน 2553

อาจารย์ให้นักศึกษานำแป้งโดว์มาส่งพร้อมกับอุปกรณ์การเล่นกับแป้งโดว์ จากนั้นอาจารย์ได้สรุปเรื่องของการผลิตสื่อ ประโยชน์ของสื่อ และการนำไปใช้และสื่อทุกชิ้นที่นักศึกษาทำนั้นสามารถที่จะนำไปใช้ในการสอนได้อย่างไร และอาจารย์พูดถึงวิธีการนำสื่อไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11


วันที่ 16 กันยายน 2553

อาจรย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำวัสดุอุปกรณ์มาทำแป้งโดว์ในห้องเรียน และได้สั่งให้นักศึกษาร่วมกัน ช่วยเหลือกันทำแป้งโดว์ ทำให้นักศึกษารู้สึกตื่นเต้นกับการทำแป้งโดว์เพราะยังไม่เคยได้ทำแป้งโดว์มาก่อนจากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษานำแป็งโดมาให้ดู อาจารย์ให้นักศึกษานำแป็งโดไปเก็บเพื่อนำมาส่งอาทิตย์หน้าพร้อมอุปกรณ์ที่ใช้เล่นกับแป็งโด

อาจารย์สั่งให้นักศึกษาหาอุปกรณ์ที่สามารถนำมาเล่นกับแป้งโดว์มาส่งพร้อมกับแป้งโดว์ โดยไม่ต้องไปหาซื้อวัสสดุอุปกรณ์

เกลือ 1/2 ถ้วย

แป้งสาลี 1 ถ้วย

สารส้มป่น 2 ช้อนโต๊ะ

น้ำ 1 ถ้วย

ทาทาครีม 1 ช้อนโต๊ะ หรือใช้น้ำมันมะกอกแทนก็ได้
สีผสมอาหาร

*วิธีทำ*

นำเกลือแป้งสาลีสารส้มป่นผสมให้เข้ากันจากนั้นค่อยเติมนำและน้ำมันมะกอกทีละน้อยคนให้เข้ากันและวใส่สีผสมอาหารจากนั้นนำขึ้นตั้งไฟกวนจนแป้งไม่ติดภาชนะแล้วนำมานวด นำเก็บใส่ถาชนะให้มิดชิด(ไม่ต้องแช่เย็น)

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10

วันที่ 9 กันยายน 2553

*อาจารย์สั่งให้นักศึกษานำป๊อบอัพมาส่งให้ครบทุกคนจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษานั่งเดี่ยว
*อาจารย์ได้ให้นักศึกษาสอบกลางภาค

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 9

วันที่ 2 กันยายน 2553

อาจารย์สั่งให้นักศึกษากลุ่ม 101 และกลุ่ม 102มาเรียนด้วยกัน
อาจารย์ก็ได้ตรวจดูงานที่อาจารย์สั่งให้ไปทำว่าเสร็จหมดทุกอย่างไหม สถานที่ใต้ตึกของคณะศึกษาศาสตร์ แล้วขึ้นไปเรียนที่ห้องเรียนเพื่อที่จะให้นักศึกษาได้ดูชิ้น และได้เล่นเกมการศึกษาที่อาจารย์นำมาให้เล่น เกมการศึกษาที่อาจารย์นำมาให้เล่นนั้นเป็นเกมที่สามารถนำมาใช้เป็นสื่อในการสอนได้และเป็นสื่อที่มีคุณภาพ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 8

วันที่ 19 สิงหาคม 2553

อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับเรื่องการไปอบรบในวันที่ 7 สิงหาคม 2553 แล้วให้นักศึกษาคนที่ไม่ได้ไปอบรมเซ็นชื่อพร้อมกับถามเหตุผลว่าทำไมไม่ได้ไปอบรม จากนั้นอาจารย์ได้ตรวจดูชิ้นงานของนักศึกษาแต่ละชิ้นว่าเรียบร้อยดีไหม แล้วอาจารย์ได้สั่งงานชิ้น ใหม่ คือป๊อบอัพ จำนวน 3 ชิ้น

อาจารย์ก็ให้คนที่ไม่ได้มาอบรมไปทำงานที่อาจารย์ให้ไปมาส่งอาทิตย์หน้าพร้อมกับงานชิ้นใหม่ที่สั่งไป

วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 7

วันที่ 29 กรกฎาคม 2533

เกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย

เกมจับคู่ภาพเหมือน
วิธีการเล่น
ให้เด็กจับภาพผลไม้ที่มีรูปร่างเหมือนกันมาต่อกัน



วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้เด็กเห็นคุณค่าของผลไม้(ด้านผลไม้)

2.เพื่อให้เด็กสามารถเชื่อมโยง จำแนก จำคู่ของผลไม้แต่ละชนิดได้(ด้านตรรกะคณิตศาสตร์)

3.เข้าใจคำสั่งและตอบคำถามได้(ภาษา)

4.สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวพื้นฐานได้(ด้านร่างกาย)

5.เข้าใจความสำคัญของตัวเองและสิ่งแวดล้อมได้(ด้านธรรมชาติ)

6.สามารถเห็นคุณค่าของตนเองได้(ความเข้าใจตนเอง)

7.แยกแยะความแตกต่างระหว่างผลไม้ได้(ด้านความเข้าใจ)

8.เห็นคุณค่าการทำงานของตนเอง(ด้านจิตนิยม)



วิธีทำ

-ตัดกระดาษแข็งเป็นรูปสี่เหลี่ยม
-วาดรูปผลไม้ใส่กระดาษA4
-ตัดกระดาษที่มีรูปผลไม้ให้เป็นสี่เหลี่ยม
-นำกระดาษA4ติดใส่กระดาษแข็ง
-เคลือบกระดาษด้วยสติกเกอร์ใส






























































วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6

วันที่ 22 กรกฎาคม 2553
บันทึก
เกมการศึกษา คือ เกมที่เด็กเล่นแล้วสามารถทำให้เด็กผ่อนคลายเกดความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เด็กได้ฝึกคิด ฝึกปฎิบติ
เกมการศึกษา หมายถึง เกมการเล่นที่มีความหลากหลาย
ความสำคัญของสื่อ
-ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
-ได้รับประสบการณ์การตรง จำได้นาน
-รวดเร็วเพลิดเพลินเข้าใจง่าย
ลักษณะที่ดีของสื่อ
*ต้องมีความปลอดภัย
*ประโยชน์ที่เด็กได้รับเหมาะสมกับความสามารถของเด็ก ความสนใจ
*ประหยัด
*ปรสิทธิภาพ
หลักการเลือกสื่อที่ดี
คุณภาพดี เด็กเข้าใจง่าย เลือกให้เหมาะสมกับสภาพของศูนย์ เหมาะสมกับวัย เหมาะสมกับเวลาที่ใช้ เด็กได้มีส่วร่วมในกิจกรรม ถูกต้องตามเนื้อหา ทันสมัย เด็กได้คิดเป็นทำเป็น กล้าแสดงออก
การประเมินการใช้สื่อ
พิจารณาจากครูผู้ใช้สื่อเด็กและสื่อ
-สื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรยีนรู้เพียงใด
-เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด เช่น หุ่นไม้ไอสครีม
สมมาตร หมายถึง ความเหมือนกันทั้งสองด้านของภาพ
เกมการศึกษามีอะไรบ้าง

สื่อเด็กพิเศษ ของเล่นพลาสติก ลูกบอล บ้าน กระดานลื่อ โยกเยก โต็ะ เก้าอี้ ตุ๊กตา เครื่องดนตรี ตรายาง เครื่องเล่นสนาม ของเล่นกลางแจ้ง หุ่นกระบอกมือ เกมคณิตศาสตร์ ชุดมอนเตสเซอร์รี่ ของเล่นเด็กอนุบาล ซีดีนิทาน เกมการศึกษา ชุดมอนเตสเซอร์รี่ ของเล่นเด็กอนุบาล ซึ่งเป็น Education Toy














บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5

วันที่ 15 กรกฎาคม 2533
บันทึก
อาจารย์ให้นักศึกษารายงานสื่อของตัวเองที่นำมาใช้เป็นสื่อการสอน
สื่อการสอนสำหรับเด็ก
ของเล่นไม้ สื่อ สื่อการเรียน สื่อการสอน ของเล่นฝึกทักษะ ของเล่นเด็กพิเศษ สื่อเด็กพิเศษ ของเล่นพลาสติก ลูกบอล บ้าน กระดานลื่อ โยกเยก โต็ะ เก้าอี้ ตุ๊กตา เครื่องดนตรี ตรายาง เครื่องเล่นสนาม ของเล่นกลางแจ้ง หุ่นกระบอกมือ เกมคณิตศาสตร์ ชุดมอนเตสเซอร์รี่ ของเล่นเด็กอนุบาล ซีดีนิทาน เกมการศึกษา ชุดมอนเตสเซอร์รี่ ของเล่นเด็กอนุบาล ซึ่งเป็น Education Toy ก่อนวัยเรียน ต่างๆ หลากหลายชนิด ให้กับทางร้านค้า,โรงเรียน,ผู้ปกครอง ฯ มาแล้วทั่วประเทศ เรามีโรงงานที่ผลิตในประเทศไทย โดยของเล่นส่วนใหญ่ของเราผลิตมาจากไม้ยางพาราอย่างดี,ใช้สีที่ปราศจากสารพิษ (non-toxic) เรายังมีทีมออกแบบของเล่น ออกแบบให้เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย และทีมงานฝ่ายผลิตที่มีประสิทธิภาพ เราจึงมั่นใจได้ว่า ของเล่นของเราจะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเด็ก ๆ รวมถึงกการพัฒนาการของเด็กเล็ก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4




วันที่ 8 กรกฎาค 2553

บันทึก

การแบ่งประเภทสื่อ
ตามลักษณะของสื่อ

งานชิ้นที่ 2
สื่อที่ใช้สอน
บล็อก



วิธีการเล่นบล็อก ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม ฝึกทักษะการคิดการตัดสินใจ การเล่นบล็อกจะช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวร่างกาย สื่อนี้จะช่วยให้เด็กมี พุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย ทางด้านความคิด การเคลื่อนไหว การเข้าสังคมเด็กก็จะรู้จัการอยู่ร่วมกับเพื่อน











วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 3









วันที่ 1 กรกฎาคม 2533





อาจารย์อธิบายความหมายของสื่อ



คุณค่าของสื่อ

*ช่วยให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนมากขึ้น


*ช่วยให้สนใจบทเรียนและใช้ประสาทในการสัมผัสรับร้ได้
อาจารย์อธิบายหลักการเลือกสื่อการสอน

ขั้นตอนการใช้สื่อ
1.ขั้นนำเข้าสู่บทบาท
2.ขั้นนำเข้าสู่การสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน
3.ขั้นวิเคราะห์หรือฝึกปฎิบัติ
4.ขั้นสรุปบทเรียน
5.ขั้นประเมินผู้เรียน

หลักการใช้สื่อ
1.เตรียมตัวผู้สอน
2.เตรียมจัดสภาพแวดล้อม
3.เตรียมพร้อมผู้เรียน
4.การใช้สื่อ
5.การติดตามผล

ประเภทของสื่อการสอน
เอ็ดการ์ เดล จำแนกประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมไปสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม โดยยึดหลักว่า คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีและเร็วกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเรียกว่า "กรวยแห่งประสบการณ์"โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทของสื่อการสอน ดังนี้วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น

สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามคุณสมบัติWilbure Young ได้จัดแบ่งไว้ดังนี้
1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี) แผนภูมิ รูปภาพ ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ
2. โสตวัสดุ (Audio Materisls ) เช่น เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เครื่องรับวิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ระบบขยายเสียง ฯลฯ
3. โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
4. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Equipments) เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มสตริปเครื่องฉายสไลด์
5. กิจกรรมต่าง ๆ (Activities )เช่น นิทรรศการ การสาธิต ทัศนศึกษา ฯลฯ


สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ......ประเภทของสื่อการเรียนการสอน.............สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)





































ทฤษฎี Abraham Maslow


ทฤษฎีจิตวิทยามานุษยวิทยา (Humanistic Theory) นวลละออ สุภาผล (2527 : 255-288 ) อธิบายว่า ทฤษฎีจิตวิทยามานุษยวิทยา เป็นทฤษฎีจิตวิทยาร่วมสมัยในปัจจุบันมากที่สุด แนวความคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างมากในวงการจิตวิทยาเพราะได้เสนอภาพหรือความคิดเห็นในมนุษย์แตกต่างไปจากความคิดของ ทฤษฎีบุคลิกภาพที่ผ่านมาเช่นทฤษฎีจิตวิเคราะห์หรือทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นต้นผู้คิดทฤษฎีนี้ ได้แก่ Abraham Maslow เป็นผู้ตั้งทฤษฎีนี้และได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิทยามานุษยนิยม ทฤษฎีนี้มีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น A Humanistic Theory of Personality (ทฤษฎีบุคลิกภาพมานุษยนิยม ) และ Self-Actualizationism Theory ( ทฤษฎีการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ) เป็นต้น ทฤษฎีมานุษยนิยมเป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงบุคลิกภาพโดยมีความเชื่อพื้นฐานว่า มนุษย์มีความดีและมีคุณค่าต่อการยอมรับมนุษย์มีความต้องการที่จะมุ่งไปสู่ความเข้าใจในศักยภาพของตนเอง ถ้าสภาพสิ่งแวดล้อมของเขาดีพอหรือเอื้ออำนวย ดังนั้นทฤษฎีจึงมีแนวคิดพื้นฐานในเรื่องการศึกษาบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความบริบูรณ์ ความเจริญงอกงามและการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่ง Maslow กล่าวว่า มนุษย์จะไม่เข้าใจตนเองจนกว่า จะเกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะแสวงหาสิ่งต่อไปนี้คือความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ความบริบูรณ์งอกงาม เอกลักษณ์และความเป็นตัวของตัวเอง และสิ่งสำคัญที่ทฤษฎีของ Maslow เน้นคือ เอกลักษณ์ของบุคคล ความสำคัญและความหมายของคุณค่าต่างๆ (values) ศักยภาพสำหรับการชี้นำตนเอง และความต้องการเจริญเติบโตของบุคคล ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นอิทธิพลสำคัญของความคิดในปัจจุบันเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์

บันทึกครั้งที่ 2

วันที่ 24 มิถุนายน 2553


สื่อ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจเป็นวัสดุเครื่องมือ หรือกิจกรรมที่เลือกมาและวางแผนใช้ รวมเข้าไปในเนื้อหาของหลักสูตรวิชาต่างๆอย่างเหมาะสมกับความต้องการ ระดับชั้นสติปัญญา และความสามารถของนักเรียน


นักศึกษาจับกลุ่มกันเพื่อตอบคำถาม


1.ในความคิดเด็กปฐมวัยคืออะไร

2.เราจะไปศึกษาในเรื่องใดจะรู้จักเด็กได้เป็นอย่างไร

3.ท่านคิดว่าเด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร

4.ทฤษฎีที่นักศึกษารู้จักมีทฤษฎีอะไรบ้าง


งานเดี่ยว

ให้นักศึกษาหามาคนละ 1 ทฤษฎี