วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553



ทฤษฎี Abraham Maslow


ทฤษฎีจิตวิทยามานุษยวิทยา (Humanistic Theory) นวลละออ สุภาผล (2527 : 255-288 ) อธิบายว่า ทฤษฎีจิตวิทยามานุษยวิทยา เป็นทฤษฎีจิตวิทยาร่วมสมัยในปัจจุบันมากที่สุด แนวความคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างมากในวงการจิตวิทยาเพราะได้เสนอภาพหรือความคิดเห็นในมนุษย์แตกต่างไปจากความคิดของ ทฤษฎีบุคลิกภาพที่ผ่านมาเช่นทฤษฎีจิตวิเคราะห์หรือทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นต้นผู้คิดทฤษฎีนี้ ได้แก่ Abraham Maslow เป็นผู้ตั้งทฤษฎีนี้และได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิทยามานุษยนิยม ทฤษฎีนี้มีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น A Humanistic Theory of Personality (ทฤษฎีบุคลิกภาพมานุษยนิยม ) และ Self-Actualizationism Theory ( ทฤษฎีการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ) เป็นต้น ทฤษฎีมานุษยนิยมเป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงบุคลิกภาพโดยมีความเชื่อพื้นฐานว่า มนุษย์มีความดีและมีคุณค่าต่อการยอมรับมนุษย์มีความต้องการที่จะมุ่งไปสู่ความเข้าใจในศักยภาพของตนเอง ถ้าสภาพสิ่งแวดล้อมของเขาดีพอหรือเอื้ออำนวย ดังนั้นทฤษฎีจึงมีแนวคิดพื้นฐานในเรื่องการศึกษาบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความบริบูรณ์ ความเจริญงอกงามและการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่ง Maslow กล่าวว่า มนุษย์จะไม่เข้าใจตนเองจนกว่า จะเกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะแสวงหาสิ่งต่อไปนี้คือความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ความบริบูรณ์งอกงาม เอกลักษณ์และความเป็นตัวของตัวเอง และสิ่งสำคัญที่ทฤษฎีของ Maslow เน้นคือ เอกลักษณ์ของบุคคล ความสำคัญและความหมายของคุณค่าต่างๆ (values) ศักยภาพสำหรับการชี้นำตนเอง และความต้องการเจริญเติบโตของบุคคล ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นอิทธิพลสำคัญของความคิดในปัจจุบันเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น